<p><strong>Q : กายคตาสติหรือการตั้งสติไว้ในกายทำอย่างไร?&nbsp;</strong></p><p>A :&nbsp;กายคตาสติคือการตั้งสติไว้ในกาย ใช้กายเป็นฐานที่ตั้งของสติ สามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นนัยยะของการนั่งสมาธิแล้วพิจารณากาย การพิจารณากายในอิริยาบถ การพิจารณากายในความเป็นปฏิกูล หรือพิจารณากายจากสถานที่ / การตั้งสติสัมปชัญญะไว้ในกาย คือรู้ตัวทั่วพร้อมรอบคอบในอาการต่าง ๆ ในทุกอิริยาบถ หากเรามีอาการทางกาย เช่น การไอ อย่าให้จิตเราไม่พอใจขยะแขยงเกลียดชังไปกับอาการหรืออิริยาบถนั้น ๆ ให้เรารับรู้อยู่แต่ไม่คิดไปตาม ไม่เพลินไปตามความคิด ไม่เพลินไปตามอาการนั้นอิริยาบถนั้นการปรุงแต่งนั้น ให้รู้ตัวทั่วพร้อมมีสติสัมปชัญญะอยู่กับการไอ</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : รู้สึกผิดที่ไม่ได้ดูแลพ่อแม่ด้วยตัวเองควรวางใจอย่างไร?</strong></p><p>A : หน้าที่ที่เหมาะสมสำหรับลูกที่ควรกระทำคือเลี้ยงดูบิดามารดา การเลี้ยงดูมี 2 รูปแบบ คือการดูแลทางอามิสคือทางกาย และการตอบแทนที่จะพอเหมาะสม คือการให้ท่านมีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา คือมี “โสตาปัตติยังคะ 4” ถึงพอจะเหมาะสมกัน ในเรื่องของการดูแลเราสามารถทำเองก็ได้หรือจัดให้ก็ได้ ในเรื่องของสภาพจิตใจต้องดูแลท่าน หมั่นไปเยี่ยมประดิษฐานท่านให้มีศีล ศรัทธา จาคะ และปัญญา ให้เรามองว่าเป็นโอกาสที่เราจะสร้างบุญใหญ่แล้วให้มีความมั่นใจทำจริงแน่วแน่จริง ธรรมะจะคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรมแน่นอน</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : ทำบุญที่ไหนก็ตามเทียบไม่ได้กับทำบุญกับพ่อแม่</strong></p><p>A : บุญที่เกิดจากการให้ทานอยู่ที่ลักษณะ 3 อย่างคือ ผู้ให้ผู้รับและสิ่งของที่ให้ผู้ให้คือเราผู้รับคือพ่อแม่หากเปรียบพ่อแม่เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลสแล้วแต่พ่อแม่ยังมีกิเลสอยู่นัยยะของการเกิดบุญจึงต่างกันอย่างไรก็ตามท่านสอนให้เราทำดีกับพ่อแม่อยู่แล้วเพราะเรามีพ่อแม่เพียงคนเดียวไม่ว่าท่านจะต่อว่าเราอย่างไรเราก็ควรตอบแทนบุญคุณท่านให้เห็นว่าเป็นโอกาสที่เราจะได้ฝึกความอดทนฝึกปัญญาแก้ปัญหาให้เราตั้งอยู่ในความดีทำดีต่อไป</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : การดูแลผู้ป่วยหนัก เราควรทำจิตใจอย่างไรจึงจะผ่านวิกฤติไปได้?</strong></p><p>A : คุณสมบัติของผู้ที่จะพยาบาลได้ง่ายก็คือ 1) รู้ว่าอะไรเป็นความสบาย 2) รู้ประมาณในความสบาย 3) ทานยาตามเวลา 4) บอกอาการตามความเป็นจริง 5) มีความอดทนต่อเวทนานั้น ๆ หากเราต้องจัดคนมาดูแลหรือดูแลเอง ให้พิจารณาว่ามีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ ไม่เห็นแก่อามิสสิ่งของ ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระปัสสาวะไปทิ้ง สามารถพูดให้คนไข้มีความอาจหาญ ร่าเริง ทรงอยู่ในธรรมได้</p><br /><hr><p style='color:grey; font-size:0.75em;'> Hosted on Acast. See <a style='color:grey;' target='_blank' rel='noopener noreferrer' href='https://acast.com/privacy'>acast.com/privacy</a> for more information.</p>

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

การตั้งสติไว้ในกาย [6715-7q]

APR 13, 202456 MIN
7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

การตั้งสติไว้ในกาย [6715-7q]

APR 13, 202456 MIN

Description

<p><strong>Q : กายคตาสติหรือการตั้งสติไว้ในกายทำอย่างไร?&nbsp;</strong></p><p>A :&nbsp;กายคตาสติคือการตั้งสติไว้ในกาย ใช้กายเป็นฐานที่ตั้งของสติ สามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นนัยยะของการนั่งสมาธิแล้วพิจารณากาย การพิจารณากายในอิริยาบถ การพิจารณากายในความเป็นปฏิกูล หรือพิจารณากายจากสถานที่ / การตั้งสติสัมปชัญญะไว้ในกาย คือรู้ตัวทั่วพร้อมรอบคอบในอาการต่าง ๆ ในทุกอิริยาบถ หากเรามีอาการทางกาย เช่น การไอ อย่าให้จิตเราไม่พอใจขยะแขยงเกลียดชังไปกับอาการหรืออิริยาบถนั้น ๆ ให้เรารับรู้อยู่แต่ไม่คิดไปตาม ไม่เพลินไปตามความคิด ไม่เพลินไปตามอาการนั้นอิริยาบถนั้นการปรุงแต่งนั้น ให้รู้ตัวทั่วพร้อมมีสติสัมปชัญญะอยู่กับการไอ</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : รู้สึกผิดที่ไม่ได้ดูแลพ่อแม่ด้วยตัวเองควรวางใจอย่างไร?</strong></p><p>A : หน้าที่ที่เหมาะสมสำหรับลูกที่ควรกระทำคือเลี้ยงดูบิดามารดา การเลี้ยงดูมี 2 รูปแบบ คือการดูแลทางอามิสคือทางกาย และการตอบแทนที่จะพอเหมาะสม คือการให้ท่านมีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา คือมี “โสตาปัตติยังคะ 4” ถึงพอจะเหมาะสมกัน ในเรื่องของการดูแลเราสามารถทำเองก็ได้หรือจัดให้ก็ได้ ในเรื่องของสภาพจิตใจต้องดูแลท่าน หมั่นไปเยี่ยมประดิษฐานท่านให้มีศีล ศรัทธา จาคะ และปัญญา ให้เรามองว่าเป็นโอกาสที่เราจะสร้างบุญใหญ่แล้วให้มีความมั่นใจทำจริงแน่วแน่จริง ธรรมะจะคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรมแน่นอน</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : ทำบุญที่ไหนก็ตามเทียบไม่ได้กับทำบุญกับพ่อแม่</strong></p><p>A : บุญที่เกิดจากการให้ทานอยู่ที่ลักษณะ 3 อย่างคือ ผู้ให้ผู้รับและสิ่งของที่ให้ผู้ให้คือเราผู้รับคือพ่อแม่หากเปรียบพ่อแม่เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลสแล้วแต่พ่อแม่ยังมีกิเลสอยู่นัยยะของการเกิดบุญจึงต่างกันอย่างไรก็ตามท่านสอนให้เราทำดีกับพ่อแม่อยู่แล้วเพราะเรามีพ่อแม่เพียงคนเดียวไม่ว่าท่านจะต่อว่าเราอย่างไรเราก็ควรตอบแทนบุญคุณท่านให้เห็นว่าเป็นโอกาสที่เราจะได้ฝึกความอดทนฝึกปัญญาแก้ปัญหาให้เราตั้งอยู่ในความดีทำดีต่อไป</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : การดูแลผู้ป่วยหนัก เราควรทำจิตใจอย่างไรจึงจะผ่านวิกฤติไปได้?</strong></p><p>A : คุณสมบัติของผู้ที่จะพยาบาลได้ง่ายก็คือ 1) รู้ว่าอะไรเป็นความสบาย 2) รู้ประมาณในความสบาย 3) ทานยาตามเวลา 4) บอกอาการตามความเป็นจริง 5) มีความอดทนต่อเวทนานั้น ๆ หากเราต้องจัดคนมาดูแลหรือดูแลเอง ให้พิจารณาว่ามีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ ไม่เห็นแก่อามิสสิ่งของ ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระปัสสาวะไปทิ้ง สามารถพูดให้คนไข้มีความอาจหาญ ร่าเริง ทรงอยู่ในธรรมได้</p><br /><hr><p style='color:grey; font-size:0.75em;'> Hosted on Acast. See <a style='color:grey;' target='_blank' rel='noopener noreferrer' href='https://acast.com/privacy'>acast.com/privacy</a> for more information.</p>