<p><strong>Q : อย่าเห็นแก่สั้นอย่าเห็นแก่ยาว (การผูกมิตร)</strong></p><p>A : การให้ทานเป็นหนึ่งในสังคหวัตถุ 4 เราสามารถรับและซื้อของให้กลับเพื่อผูกมิตร มิตรภาพมีค่าควรรับไว้ ทั้งนี้ให้ตรวจสอบสภาวะจิตว่าเราเป็นคนตระหนี่ไหม คือเค้าซื้อของให้แล้วไม่อยากซื้อให้กลับหรือไหม การให้ทานเป็นการลดความตระหนี่ เราควรรักษามิตรภาพไว้หากเขามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม หรือแนะนำให้หยอดกระปุกชวนทำบุญร่วมกัน / คำว่า<strong> “อย่าเห็นแกสั้นอย่าเห็นแก่ยาว”</strong> หมายถึง อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก อย่าจองเวรให้ยืดเยื้อนัก</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชา</strong></p><p>A : อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่รู้ประหารคือกำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล รู้รักษาคือสำรวมอินทรีย์ รู้ไปคือไปทางนิพพาน รู้ฟังคือฟังธรรมะ และรู้อดทนคืออดทนต่อเวทนาคำด่าคำว่า</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร?&nbsp;</strong></p><p>A : <strong>“ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์”</strong> มาจากศัพท์คำว่า<strong> “อทุกขมสุข”</strong> เป็นเวทนา คือถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่บอกไม่ได้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้น <strong>“อุเบกขา”</strong> คือความวางเฉย เป็นเวทนาที่เป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ เป็นหนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ “วิมุตติ” คือพ้นไม่เพลิน อยู่เหนือจากอุเบกขาขึ้นไป เมื่อวางได้จึงพ้น / ความต่างของอุเบกขาและวิมุตติคืออุเบกขา เป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่หนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ความเหมือนก็คือเป็นเวทนาเหมือนกัน มีความเพลินเหมือนกัน มีสติอยู่ด้วยเหมือนกัน / เมื่อเราเจริญสติปัฏฐานสี่ให้มากทำให้มากแล้ว เราจะมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรมคือโพชฌงค์ พอมีโพชฌงค์แล้วอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปด้วยความสลัดคืน วิชชาและวิมุตติจะเกิดขึ้น</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q :&nbsp;นั่งสมาธิพอจิตตั้งมั่นแล้วจะเหมือนมีหนอนไต่เป็นเพราะเหตุใด และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?</strong></p><p>&nbsp;A :&nbsp;พิจารณากรณีที่ 1 เป็นนิมิตว่าให้เราเห็นความเป็นปฏิกูลในกายนี้คือไม่น่ายินดี ให้รักษาสติเห็นตามจริงอย่าตกใจ หากตกใจให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้มีกำลังกล้าเผชิญหน้าว่ากายเราเป็นแบบนี้ กรณีที่2 หากเราเพิ่งเริ่มต้นปฏิบัติ อาการนี้คือการปรุงแต่งทางกาย เป็นเครื่องทดสอบให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี รู้เฉย ๆ แต่ไม่ตามรู้ ก็สักแต่ว่ารู้ พอสอบผ่านแล้วจะไม่คันอีก</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : การนั่งสมาธิทดแทนการหลับได้หรือไม่?</strong></p><p>&nbsp;A : ในการนอน 4 ประเภท หนึ่งในนั้นเรียกว่าการนอนอย่างตถาคต คือตื่นอยู่ในสมาธิ ไม่ง่วง ไม่หลับ จิตสว่างอยู่ ร่างกายได้รับการพักผ่อนอยู่ในสมาธิ ส่วนคนที่นอนไม่หลับคือง่วง เหนื่อยเพลีย แต่นอนไม่หลับ</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : การทำสมาธิใกล้คนนอนมีผลกับคนนอนหรือไม่?</strong></p><p>A : หากเป็นการขยับร่างกาย ก็อาจมีผลต่อคนที่นอนใกล้ได้ หากเราทำสมาธิแล้วให้เราแผ่เมตตา ผลที่ได้ไม่ใช่แค่คนใกล้ คนไกลก็ได้ประโยชน์ด้วย ได้ทั้งข้ามภพข้ามชาติด้วย</p><br /><hr><p style='color:grey; font-size:0.75em;'> Hosted on Acast. See <a style='color:grey;' target='_blank' rel='noopener noreferrer' href='https://acast.com/privacy'>acast.com/privacy</a> for more information.</p>

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

ความรู้คือวิชชา ความพ้นคือวิมุตติ [6716-7q]

APR 20, 202454 MIN
7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

ความรู้คือวิชชา ความพ้นคือวิมุตติ [6716-7q]

APR 20, 202454 MIN

Description

<p><strong>Q : อย่าเห็นแก่สั้นอย่าเห็นแก่ยาว (การผูกมิตร)</strong></p><p>A : การให้ทานเป็นหนึ่งในสังคหวัตถุ 4 เราสามารถรับและซื้อของให้กลับเพื่อผูกมิตร มิตรภาพมีค่าควรรับไว้ ทั้งนี้ให้ตรวจสอบสภาวะจิตว่าเราเป็นคนตระหนี่ไหม คือเค้าซื้อของให้แล้วไม่อยากซื้อให้กลับหรือไหม การให้ทานเป็นการลดความตระหนี่ เราควรรักษามิตรภาพไว้หากเขามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม หรือแนะนำให้หยอดกระปุกชวนทำบุญร่วมกัน / คำว่า<strong> “อย่าเห็นแกสั้นอย่าเห็นแก่ยาว”</strong> หมายถึง อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก อย่าจองเวรให้ยืดเยื้อนัก</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชา</strong></p><p>A : อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่รู้ประหารคือกำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล รู้รักษาคือสำรวมอินทรีย์ รู้ไปคือไปทางนิพพาน รู้ฟังคือฟังธรรมะ และรู้อดทนคืออดทนต่อเวทนาคำด่าคำว่า</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร?&nbsp;</strong></p><p>A : <strong>“ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์”</strong> มาจากศัพท์คำว่า<strong> “อทุกขมสุข”</strong> เป็นเวทนา คือถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่บอกไม่ได้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้น <strong>“อุเบกขา”</strong> คือความวางเฉย เป็นเวทนาที่เป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ เป็นหนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ “วิมุตติ” คือพ้นไม่เพลิน อยู่เหนือจากอุเบกขาขึ้นไป เมื่อวางได้จึงพ้น / ความต่างของอุเบกขาและวิมุตติคืออุเบกขา เป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่หนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ความเหมือนก็คือเป็นเวทนาเหมือนกัน มีความเพลินเหมือนกัน มีสติอยู่ด้วยเหมือนกัน / เมื่อเราเจริญสติปัฏฐานสี่ให้มากทำให้มากแล้ว เราจะมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรมคือโพชฌงค์ พอมีโพชฌงค์แล้วอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปด้วยความสลัดคืน วิชชาและวิมุตติจะเกิดขึ้น</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q :&nbsp;นั่งสมาธิพอจิตตั้งมั่นแล้วจะเหมือนมีหนอนไต่เป็นเพราะเหตุใด และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?</strong></p><p>&nbsp;A :&nbsp;พิจารณากรณีที่ 1 เป็นนิมิตว่าให้เราเห็นความเป็นปฏิกูลในกายนี้คือไม่น่ายินดี ให้รักษาสติเห็นตามจริงอย่าตกใจ หากตกใจให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้มีกำลังกล้าเผชิญหน้าว่ากายเราเป็นแบบนี้ กรณีที่2 หากเราเพิ่งเริ่มต้นปฏิบัติ อาการนี้คือการปรุงแต่งทางกาย เป็นเครื่องทดสอบให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี รู้เฉย ๆ แต่ไม่ตามรู้ ก็สักแต่ว่ารู้ พอสอบผ่านแล้วจะไม่คันอีก</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : การนั่งสมาธิทดแทนการหลับได้หรือไม่?</strong></p><p>&nbsp;A : ในการนอน 4 ประเภท หนึ่งในนั้นเรียกว่าการนอนอย่างตถาคต คือตื่นอยู่ในสมาธิ ไม่ง่วง ไม่หลับ จิตสว่างอยู่ ร่างกายได้รับการพักผ่อนอยู่ในสมาธิ ส่วนคนที่นอนไม่หลับคือง่วง เหนื่อยเพลีย แต่นอนไม่หลับ</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Q : การทำสมาธิใกล้คนนอนมีผลกับคนนอนหรือไม่?</strong></p><p>A : หากเป็นการขยับร่างกาย ก็อาจมีผลต่อคนที่นอนใกล้ได้ หากเราทำสมาธิแล้วให้เราแผ่เมตตา ผลที่ได้ไม่ใช่แค่คนใกล้ คนไกลก็ได้ประโยชน์ด้วย ได้ทั้งข้ามภพข้ามชาติด้วย</p><br /><hr><p style='color:grey; font-size:0.75em;'> Hosted on Acast. See <a style='color:grey;' target='_blank' rel='noopener noreferrer' href='https://acast.com/privacy'>acast.com/privacy</a> for more information.</p>